-
ตารางคะแนนเจลีก
ดูอันดับเจลีกและตารางคะแนน -
โปรแกรมเจลีก
ดูตารางการแข่งขันบอลเจลีก -
ประวัติย่อบอลเจลีก
อ่านเกี่ยวกับความเป็นมาของบอลเจลีก -
นักบอลไทยสู่เจลีก
4 แข้งช้างศึกกับการก้าวสู่เวทีเจลีก
เจลีก 2021
ฟุตบอลเจลีก (J League) ของประเทศญี่ปุ่นเริ่มการแข่งขันฤดูกาลใหม่ปี 2021 ในวันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ไปจนถึงวันที่ 4 ธันวาคมโดยเริ่มจาก คาวาซากิ ฟรอนตาเล่ ที่จะเริ่มป้องกันแชมป์ในนัดแรกเจอกับแชมป์เก่า โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส ที่มี ธีราทร บุญมาทัน คู่นี้จะเริ่มเตะเวลา 16.00 น. ตามเวลาประเทศไทย เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 บอลเจลีกในปีนี้จะมีทั้งหมด 20 ทีม (เดิมที 18 ทีม) ทำให้ทีมที่จบอันดับ 17-18 ของฤดูกาลที่แล้วไม่ต้องเลื่อนชั้นลงไปเล่นในเจลีก2 ในทางกลับกันหลังจากจบฤดูกาลนี้ลงจะมีทีมตกชั้นทั้งหมด 4 ทีมและ 2 ทีมเลื่อนชั้นขึ่้นมาจากเจลีก2 ในฤดูกาลหน้าให้เข้าสู่ระบบการแข่งขันแบบเดิม โปรแกรมบอลเจลีกในปีนี้จะแข่งจะแข่งขันกันแบบ Closed doors หรือ ไม่มีการให้แฟนบอลเข้าชมในสนามได้ในระบบเหย้าเยือนทั้งหมด 38 นัดและอนุญาตให้สโมสรสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้จาก 3 คน เป็น 5 คน อย่างไรก็ตามบอลเจลีกจะมีการหยุดพักการแข่งขันในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมจนถึงวันที่ 8 สิงหาคมเนื่องจากมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ถูกเลื่อนมาจากปีที่แล้ว
ประวัติย่อฟุตบอลเจลีก

Source: Goal.com
Japan Professional Football League หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ เจลีก (J League) เป็นลีกฟุตบอลสูงสุดของประเทศญี่ปุ่นที่ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1993 แบ่งออกเป็น 3 ลีกหลักด้วยกันคือ เจลีก ดิวิชั่น 1 หรือรู้จักกันสั้นๆ ว่า J1 เจลีกดิวิชั่น 2 และ เจลีกดิวิชั่น 3 มีบริษัทประกันภัยเมจิ ยาซูดะ ไลฟ์ เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ ก่อนหน้าที่จะก่อตั้งลีกฟุตบอลระดับอาชีพเจลีกนั้น การแข่งขันระดับสูงสุดของประเทศญี่ปุ่นเป็นเพียงแค่ลีกฟุตบอลสมัครเล่น หรือ Japan Soccer League (JSL) ซึ่งไม่ค่อยได้รับความนิยมในบรรดาคนญี่ปุ่นและแฟนบอลมากนัก ในปี 1993 สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น (JFA) ได้ก่อตั้งเจลีกปัจจุบันขึ้นมาอย่างเป็นทางการด้วยเป้าหมายที่จะช่วยยกระดับฟุตบอลทีมชาติ เพิ่มความนิยมให้กับลีกฟุตบอลภายในประเทศและให้มีแฟนบอลญี่ปุ่นมากขึ้น
วันที่ 15 พฤษภาคม 1993 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์แห่งวงการฟุตบอลญี่ปุ่นเนื่องจากเป็นวันเปิดการแข่งขันฤดูกาลแรกของฟุตบอลเจลีกอย่างเป็นทางการ โดยในนัดเปิดสนามมีแฟนบอลกว่า 60,000 คนที่ได้เข้าร่วมนัดเปิดสนามที่สนามกีฬาแห่งชาติคาซูมิงาโอกะ ณ กรุงโตเกียวระหว่าง เวอร์ดี้ คาวาซากิ (ปัจจุบันโตเกียว เวอร์ดี้) กับ โยโกฮามา มารินอส
การแข่งขันเจลีกนั้นจะเริ่มแข่งขันกันในเดือนกุมภาพันธ์ไปถึงเดือนธันวาคมของทุกปีซึ่งแตกต่างจากบอลลีกในยุโรปและประกอบไปด้วย 18 ทีมจากลีกสูงสุด (J1) โดยทุกๆ ทีมในเจลีกจะต้องแข่งกันในระบบพบกันหมด ฤดูกาลละ 2 ครั้งในระบบเหย้าและเยือนเพื่อเก็บคะแนนในแต่ละนัด
ชนะ (W) = 3 คะแนน
เสมอ (D) = 1 คะแนน
แพ้ (L) = 0 คะแนน
เมื่อฤดูกาลจบลง ทีมที่มีอันดับสูงสุดในตารางคะแนนจะได้เป็นแชมป์เจลีกและได้ถ้วยรางวัลของปีนั้นๆ ไปครอง ในกรณีที่มีมากกว่าหนึ่งทีมที่ได้คะแนนสูงสุดของอันดับตารางคะแนนเจลีกเท่ากัน แชมป์จะตัดสินจากส่วนต่างของลูกได้เสีย
นับตั้งแต่ก่อตั้งฟุตบอลเจลีกอย่างเป็นทางการในปี 1993 จนถึงปัจจุบันทีมที่คว้าแชมป์สูงสุดของเจลีกมีเพียง 10 สโมสรประกอบด้วย
คาชิม่า แอนท์เลอร์ส | 8 สมัย |
โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส | 4 สมัย |
ซานเฟรซเซ ฮิโรชิม่า, จูบิโล่ อิวาตะ, คาวาซากิ ฟรอนตาเล่ | 3 สมัย |
กัมบะ โอซาก้า, โตเกียวเวอร์ดี้ | 2 สมัย |
อูราวะ เรด ไดมอนส์, คาชิว่า เรย์โซล, นาโกย่า แกรมปัส | 1 สมัย |
นอกจากนี้แล้วทีมอันดับ 1 และแชมป์บอลถ้วยจักรพรรดิ (Emperor’s Cup) จะเข้ารอบ เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก (AFC Champions League) ส่วนทีมอันดับ 2 และ 3 ของเจลีกจะมีสิทธิ์เข้าไปเตะ AFC Champions League รอบตัดเชือก ในกรณีที่ทีมอันดับ 1 ของเจลีกคือทีมเดียวกับแชมป์ Emperor’s Cup ทีมอันดับ 2 ของเจลีกจะได้เข้าไปเล่นใน AFC Champions League รอบแบ่งกลุ่มทันที ส่วนอันดับ 3 และ 4 จะได้เข้าไปรอบตัดเชือกแทน มาดูในส่วนของฝั่งท้ายตารางกันบ้าง ทีม J1 อันดับที่ 16 จะต้องแข่งตัดเชือกกับทีมอันดับที่ 3 ของ J2 เพื่อวัดกันว่าใครจะได้เล่นในเจลีก (J1) ในฤดูกาลถัดไป
นับตั้งแต่ก่อตั้งบอลถ้วยจักรพรรดิ (Emperor’s Cup) ตั้งแต่ปี 1921 จนถึงปัจจุบัน สโมสรเจลีกปัจจุบันที่ครองถ้วย Emperor’s Cup เป็นจำนวนมากที่สุดคือ อูราวะ เรด ไดมอนส์ กับ โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส คนละ 7 สมัย
แชมป์ Emperor’s Cup ปี 2019 ได้แก่ทีม วิสเซล โกเบ ซึ่งเป็นถ้วยจักรพรรดิถ้วยแรกของสโมสร
นักบอลไทยสู่เจลีก

Source: thairath
ฟุตบอลเจลีกถือจะเป็นลีกฟุตบอลที่ดีที่สุดลีกหนึ่งในเอเชีย อีกทั้งยังเป็นที่นิยมกับคนไทยหมู่มากเนื่องจากมีแข้งช้างศึกถึง 4 รายที่ได้เข้าไปค้าแข้งในฟุตบอลเจลีก ฤดูกาล 2020 ซึ่งถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์สำหรับคนไทยและเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักบอลไทยรุ่นเยาวชนอีกด้วย
ชนาธิป สรงกระสินธ์ – คอนซาโดล ซัปโปโร
ชนาธิปถือเป็นผู้บุกเบิกแห่งนักบอลไทยไปค้าแข้งเจลีกในปี 2017 ให้กับสโมสร คอนซาโดล ซัปโปโร ในปี 2018 ชนาธิปได้แสดงผลงานบนสนามอย่างยอดเยี่ยมทำให้ติดทีม เจลีกแห่งปี 2018 และได้เป็นส่วนสำคัญในการนำพาสโมสรจบอันดับที่ 4 ของตารางเจลีก
ธีรทร บุญมาทัน – โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
ในปี 2018 ธีรทรได้ลิ้มรสชาติการค้าแข้งในเจลีกหลังจากที่ได้ไปเล่นให้กับสโมสร วิสเซล โกเบ แบบสัญญายืมตัว ต่อมาในปี 2019 โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส ได้ยื่นสัญญายืมตัว 1 ปี หลังจากฤดูกาล 2019 ที่ธีรทรมีผลงานที่น่าประทับใจและได้ลงสนามถึง 25 นัด ทำไป 3 ประตูกับอีก 4 แอสซิสต์ บวกกับการสร้างประวัติศาสตร์เป็นนักบอลไทยคนแรกที่ได้แชมป์เจลีก ทางสโมสรก็ได้ตัดสินใจเซ็นสัญญาซื้อตัวแบบถาวรเตรียมพร้อมสำหรับการปกป้องแชมป์ในปี 2020
ธีรศิลป์ แดงดา – ชิมิสุ เอส-พัลส์
กองหน้าตัวเก๋าของทีมชาติไทย ธีรศิลป์ แดงดา ก็ได้ไปลองค้าแข้งในเจลีกในปี 2018 โดยเริ่มต้นจากสัญญาแบบยืมตัวกับสโมสร ซานเฟรซเซ ฮิโรชิม่า ถึงแม้ว่าเมื่อสัญญายืมตัวหมดลงทำให้ธีรศิลป์กลับมาเล่นให้กับ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด แต่ตัวธีรศิลป์เองก็ได้หวนกลับมาค้าแข้งในเจลีกอีกครั้งเมื่อทีม ชิมิสุ เอส-พัลส์ เซ็นร่วมสโมสรแบบถาวรในปี 2020 ทำให้ต้องอำลา เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด หลังจากที่ได้อยู่กับทีมมานานกว่า 10 ปี
กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ – คอนซาโดล ซัปโปโร
หลังจากที่ประตูมือหนึ่งของทีมต้องกลับไปเป็นทหารรับใช้ชาติ กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ มือหนึ่งทีมชาติไทยก็เป็นอีกหนึ่งผู้เล่นมากประสบการณ์ที่รับโอกาสเข้ามาค้าแข้งในเจลีกหลังจากได้ย้ายมาเฝ้าเสาให้กับ คอนซาโดล ซัปโปโร ในสัญญายืมตัว 2 ปี จากทีม OH Leuven ในลีกเบลเยี่ยม

Source: siamturakij
นอกจากนี้แล้วสมาคมฟุตบอลไทยได้สามารถดึงตัว อากิระ นิชิโนะ (Akira Nishino) กุญซือชาวญี่ปุ่นเข้ามาคุมทีมชาติไทยเพื่อยกระดับการเล่นของช้างศึก นิชิโนะเองเคยสร้างความสำเร็จในเจลีกโดยนำพาสโมสร กัมบะ โอซาก้า ได้แชมป์เจลีกในปี 2005 แชมป์เอเอฟซี แชมป์เปี้ยนส์ลีก ในปี 2008 และแชมป์ถ้วยจักรพรรดิสองสมัยในปี 2008 และ 2009
แชมป์เจลีกตามรายปี

Source: the-AFC
2020: คาวาซากิ ฟรอนตาเล่
2019: โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
2018: คาวาซากิ ฟรอนตาเล่
2017: คาวาซากิ ฟรอนตาเล่
2016: คาชิม่า แอนท์เลอร์ส
2015: อูราวะ เรด ไดมอนส์
2014: กัมบะ โอซาก้า
2013: ซานเฟรซเซ ฮิโรชิม่า
2012: ซานเฟรซเซ ฮิโรชิม่า
2011: คาชิว่า เรย์โซล
2010: นาโกย่า แกรมปัส
2009: คาชิม่า แอนท์เลอร์ส
2008: คาชิม่า แอนท์เลอร์ส
2007: คาชิม่า แอนท์เลอร์ส
2006: อูราวะ เรด ไดมอนส์
2005: กัมบะ โอซาก้า
2004: โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
2003: โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
2002: จูบิโล่ อิวาตะ
2001: คาชิม่า แอนท์เลอร์ส
2000: โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
1999: จูบิโล่ อิวาตะ
1998: คาชิม่า แอนท์เลอร์ส
1997: จูบิโล่ อิวาตะ
1996: คาชิม่า แอนท์เลอร์ส
1995: โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
1994: ซานเฟรซเซ ฮิโรชิม่า
1993: คาชิม่า แอนท์เลอร์ส
คำถามที่พบบ่อย
เจลีกอย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบันก่อตั้งขึ้นในปี 1993 โดยสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น
เจลีกอยู่ภายใต้การดูแลของ สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น (JFA)
สโมสรคาชิม่า แอนท์เลอร์ส เป็นแชมป์เจลีกมากที่สุด ครองแชมป์ 8 สมัย
ชนาธิป สงกระสินธ์ หรือ ที่เรารู้จักกันว่า เมสซี่เจ ถือเป็นผู้บุกเบิกแห่งนักบอลไทยไปค้าแข้งเจลีกในปี 2017 ให้กับสโมสร คอนซาโดล ซัปโปโร
ปัจจุบันมีนักบอกไทย 4 คนที่กำลังค้าแข้งอยู่ในเจลีกญี่ปุ่น ได้แก่ ชนาธิป สรงกระสินธ์ ธีรทร บุญมาทัน ธีรศิลป์ แดงดา และกวินทร์ ธรรมสัจจานันท์
ธีรทร บุญมาทัน ได้สร้างประวัติศาสตร์เป็นนักบอลไทยคนแรกที่ได้แชมป์เจลีกกับสโมสรโยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส เป็นแชมป์เจลีกในฤดูกาล 2019
Michael Olunga จาก สโมสรคาชิว่า เรย์โซล เป็นดาวซัลโวสูงสุดของฤดูกาล 2019 ด้วย 9 ประตู
ธีรศิลป์ ปัจจุบันค้าแข้งอยู่กับสโมสร ชิมิสุ เอส-พัลส์
สโมสรอูราวะ เรด ไดมอนส์ กับ โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส ครองแชมป์บอลถ้วยจักพรรดิมากที่สุดคนละ 7 สมัย
สโมสรวิสเซล โกเบเป็นแชมป์ Emperor’s Cup ในปี 2019
เจลีกนั้นประกอบด้วยทั้งหมด 18 ทีม
สนาม International Stadium ของ โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส เป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาทีมในเจลี มีความจุคนดูอยู่ที่ 72,327 คน